สวัสดีครับตอนนี้มาพูดกันถึงเรื่องหัวข้อที่ทำให้เกิดการทำรายงานเกี่ยวกับBlogนี้ขึ้นมานะครับ นั่นคือInternet of Thnigsนั้นเอง เรามารู้จักกับInternet of Thingsกันก่อนเลย ในหลายแหล่งที่มาของข้อมูลที่อ้างกันมานั้นInternet of Thingsนั้นจะมีหลายๆความหมายด้วยกันแต่โดยสรุปรวมแล้ว หมายความว่า การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกสิ่งด้วยอินเตอร์เน็ต
สำหรับนิยามของ Internet of Things (IoT) หมายถึง การที่สิ่งต่างๆ ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการ ควบคุมใช้งานอุปกรณ์ต่างๆผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การสั่งเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น หากวันนั้นมาถึงอย่างเต็มรูปแบบ จะเป็นทั้งประโยชน์อย่างมหาศาล และมีความเสี่ยงไปพร้อมๆ กัน เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ดีพอ จะทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามากระทำการที่ไม่พึงประสงค์ต่ออุปกรณ์ข้อมูลสารสนเทศหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลได้
แนวคิดในเรื่องเครือข่ายของ Smart devices ดังกล่าวข้างต้น มีมาตั้งแต่ปี 1982 (2525) โดยมีการสร้างตู้หยอดเหรียญซื้อโค้กที่ Carnegie Mellon University (เดิมชื่อ Carnegie Institute of Technology) ซึ่งประดิษฐกรรมนี้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเครื่องแรกของโลก ตู้นี้สามารถรายงานว่ามีสต็อกเหลืออยู่กี่กระป๋อง กระป๋องที่ใส่เข้าไปเย็นหรือยังฯลฯ ในปี 1991 (2534) Mark Weiser เขียนบทความสำคัญชื่อ “The Computer of the 21th Century” และตามมาด้วยงานเขียนของนักวิชาการอีกหลายคนจนเกิดวิสัยทัศน์ในเรื่อง IoT ขึ้น แนวคิดของ IoT พัฒนาเป็นลำดับจนเกิดโมเมนตัมในปี 1999 (2542) โดยเป็นความคิดในเรื่องการสื่อสารชนิดจากอุปกรณ์ถึงอุปกรณ์ (Device to Device: D2D) เช่น ตู้เย็นถึงมือถือ มือถือถึงเครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรถึงเครื่องจักร ฯลฯ IoT ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ในตอนแรกคิดว่าการสื่อสารถึงกันผ่าน Radio-frequency identification (RFID) เป็นเงื่อนไขสำคัญของ IoT โดยคิดว่าถ้าทุกสิ่งของและมนุษย์ทุกคนมี ID (identification) แล้ว คอมพิวเตอร์ก็สามารถจัดการได้เกือบทุกเรื่อง
โดยทั่วไปแล้ว IoT ในปัจจุบันปรากฏผสมผสานอยู่ในรูปแบบของบ้านอัจฉริยะ แอปพลิเคชั่น (applications) อุปกรณ์สวมใส่ และชิ้นส่วนอุปกรณ์ในภาคอุตสาหกรรม แต่ความเป็นจริง IoT มีมากกว่านั้น ซึ่ง IoT Analytics สามารถจำแนกได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ผู้บริโภค และภาคธุรกิจ โดยในส่วนของผู้บริโภคสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ การใช้งานภายในบ้าน การใช้ชีวิต สุขภาพ และยานยนต์ และสำหรับการใช้งานในภาคธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มย่อยด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก กลุ่มธุรกิจสุขภาพ กลุ่มพลังงาน กลุ่มธุรกิจยานยนต์ เมือง ภาคผลิต ภาคบริการ และอื่นๆ ทั้งนี้โดยรวมแล้วเราจะบอกได้เกือบเต็มปากว่า เราได้ใช้แนวคิดของ Internet of Things กันมาได้สักพักนึงแล้ว ไม่เพียงแค่เรื่องของการใช้ในรูปแบบของบ้านอัจฉริยะ แต่ยังรวมไปถึงการเก็บข้อมูลต่างๆหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล กันในระบบ Cloud ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบหลายๆอย่างของ Internet of Things
เราลองมาดูรูปแบบต่างๆกันของการใช้ Internet of Things กัน
นับจากการมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพียงหลักแสน จนมาถึงหลักพันล้านในปัจจุบัน ที่มีทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ้ค เน็ตบุ้ค โทรศัพท์มือถือ มีสายและไร้สาย จากการประยุกต์ใช้งาน รับ-ส่ง อีเมล์ พื้นฐานมาจนสู่ World Wide Web และข้อมูลข่าวสารออนไลน์ มัลติมีเดีย จากปลายนิ้วสัมผัสของเราในเพียงไม่ถึงอึดใจ จุดเริ่มของความคิดนี้มาจากการติดบาร์โค้ด (รหัสแท่ง) ที่สินค้า ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเทคโนโลยี RFID หรือ การระบุด้วยป้ายชื่อที่อ่านด้วยคลื่นวิทยุ ต่อมา เราก็นำเครื่องอ่าน RFID มาใช้ในการสังเกตการณ์ ว่ามีวัตถุอะไรผ่านมาที่จุดที่เราสนใจหรือไม่ เครื่องอ่านเหล่านี้ก็คือสายลับ หรืออุปกรณ์ตรวจสอบว่า มีวัตถุใดอยู่ใกล้ตัวมัน
การนำสิ่งของต่างๆมาติดป้ายและสามารถอ่านได้ทางระบบที่ต่อกับอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจการขนส่งสินค้า การควบคุมการผลิตในโรงงาน การขายปลีกในห้าง รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยในสนามบิน หรือการควบคุมการเคลื่อนไหวของสินค้า หรือการป้องกันการลักขโมยสินค้าในห้าง
หลายๆประเทศ เริ่มที่จะมีป้ายทะเบียนรถ หรือป้ายจ่ายค่าทางด่วนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการใช้เครื่องอ่านข้างถนน ตรวจสอบว่ารถที่วิ่งผ่านไปคือรถทะเบียนอะไร หากมีการใช้งานกันอย่างทั่วถึง การติดตามรถหาย คงไม่ต้องวิ่งตามแล้วครับ มันโผล่มาบนแผนที่เองเลยว่าอยู่ที่ไหน ส่งตำรวจไปดักจับข้างหน้าได้เลย
ในปัจจุบัน RFID ถูกนำมาติดกับร่างกายของสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข หรือสัตว์ในฟาร์ม เพื่อใช้เป็นป้ายประจำตัวบอกชื่อว่าใครเป็นใคร หากท่านจะนำสุนัขของท่านไปยุโรป ท่านต้องไปให้นายทะเบียนทำป้ายอิเล็กทรอนิกส์ให้เพื่อบ่งบอกว่าใครเป็นเจ้าของ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์สัตว์ส่วนใหญ่ ก็ต้องมีการติดป้าย RFID เพื่อบอกว่าใครเป็นใคร
การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ หลายแห่งเริ่มมีการควบคุม ตอดเครื่องอ่านเพื่อคุ้มครองว่า สิ่งต่างๆเมื่ออยู่ระหว่างการขนส่ง ไม่มีใครเคลื่อนย้าย หรือนำสินค้าปลอมมาสลับสับเปลี่ยน หากมีใครเปิดคอนเทนเนอร์ รวมทั้งเคลื่อนย้ายสินค้าที่อยู่ระหว่างการเดินทาง เครื่องอ่าน RFID ที่ตู้คอนเทนเนอร์จะส่งสัญญาณแจ้งให้เจ้าของทราบทันที
การที่เรานำสิ่งของจำนวนมาก มาติดป้ายอิเล็กทรอนิกส์ และมีเครื่องอ่านอยู่ทุกหัวระแหง เราเรียกว่า “Internet of Things”
หากป้ายชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีอุปกรณ์ตรวจวัด (sensor) คอยตรวจจับสภาพแวดล้อมต่างๆ อยู่ด้วย ป้ายชื่อเหล่านั้นก็จะเก่งขึ้นอีก เช่น ในการส่งออกอาหารเยือกแข็ง จำเป็นต้องมีการรับรองว่าในระหว่างการขนส่ง ต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องตลอดเวลา ขณะนี้ในประเทศไทยเราสามารถสร้างป้ายชื่อที่มีระบบบันทึกอุณหภูมิซึ่งพร้อมที่จะรายงานประวัติการเดินทางได้ว่าผ่านหรือไม่ผ่านมาตรฐานที่ควบคุม
ด้านระบบจราจรและขนส่ง เช่นรถยนต์ จะมี sensor และระบบสมองกลฝังตัวที่ช่วยให้หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ หรือ ระบบสื่อสารระหว่างยานพาหนะและโครงสร้างพื้นฐานจราจรเพื่อทราบสภาพจราจรล่วงหน้าเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินทางให้หลีกเลี่ยงเส้นทางติดขัดหรือลดการสิ้นเปลือง และช่วยลดปัญหามลพิษเป็นต้น
ด้านการแพทย์สาธารณสุข ก็อาจจะได้เห็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ขนาดเล็กติดตัวผู้ป่วยหรือคนชราเพื่อติดตามเฝ้าระวังอาการและสื่อสารกับแพทย์และระบบข้อมูลสุขภาพได้ตลอดเวลา เหล่านี้เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มที่จะมีต่อไปในอนาคตของ Internet of Thingsนั้น
จากการคาดการณ์ในผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม IT ในอีก 5 ปี ข้างหน้า ณ จากนี้ไป อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันชนิดต่างๆ จะเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต เพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบันกว่า 300 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณกว่า แสนล้านชิ้น เนื่องจากอุปกรณ์ Sensor ต่างๆ ที่จะติดตั้งในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และส่งสัญญาณต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจะมีราคาลดลงไม่น้อยกว่า 80-90% จากราคาในปัจจุบัน การเชื่อมต่อโดยมี Sensor ที่เกิดขึ้นจากความทันสมัยซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำลงทุกๆ วันของ เทคโนโลยี Micro Electromechanical Sensors (MEMS) นั้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่บริบทของชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่อาจจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสิ่งของในอุตสาหกรรมหนึ่งกับสิ่งของในอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือ อุตสาหกรรมกับหน่วยงาน และ อื่นๆ อีกมากมาย
และเรายังมี10อันดับการประยุกต์ใช้ Internet of Things มาประกอบให้ดูด้วย
ทางด้านเว็บไซต์ IoT Analytics ได้ทำการสำรวจและจัดอันดับ โดยรวบรวมจากแหล่งบนอินเตอร์เน็ตยอดนิยมหลักๆ 3 แหล่งด้วยกัน คือ 1) สถิติการค้นหาใน Google, 2) การแชร์บน Twitter และ 3) จากที่มีคนพูดถึงบน Linkedin มาดูกันว่า อันดับจะเป็นอย่างไรกันบ้าง
1. Smart home
ไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไหร่ที่ Smart Home จะถูกจัดอยู่ในอันดับหนึ่ง สำหรับเดือนที่สำรวจนั้นพบว่ามีผู้คนค้นหาบนกูเกิลด้วยคำว่า “Smart Home” มากกว่า 60,000 คนเลยทีเดียว โดยในฐานข้อมูลของ IoT Analytics มีบริษัทรวมถึง startup ต่างๆ อยู่มากถึง 256 บริษัทที่ทำเรื่อง Smart Home อยู่ในตอนนี้ และมีการเปิดให้ใช้งานแอพพลิเคชันทางด้าน IoT อยู่ในปัจจุบัน จำนวนเม็ดเงินที่มีการลงทุนไปใน Smart Home ของบริษัท Startup ในปัจจุบันมีนั้นเกิน 2.5 พันล้านเหรียญไปแล้ว นี่ยังไม่ได้นับรวมบริษัท startups ชื่อดังอย่างเช่น Nest หรือ AlertMe เข้าไป และก็ยังไม่ได้รวมบริษัทข้ามชาติดังๆ อย่างเช่น Philips, Haier หรือ Belkin เข้าไป
2. Wearables
Wearables devices ยังเป็นประเด็นร้อนแรงที่ทุกคนพูดถึง และในไทยเองค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนจากสินค้าหลายๆ ค่ายที่มาวางขายกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจาก Sumsung, Jawbone หรือ Fitbit แต่ยังมีที่ผู้บริโภคยังคงรอคอยอยู่คือ Apple smart watch ที่คาดว่าจะปล่อยออกมาในราวเดือนเมษายนปีนี้ ยังมีจากค่ายอื่นๆ อีกมากมายที่ทำออกมาได้อย่างน่าสนใจ เช่น Sony ที่มีทั้งนาฬิกา และสายรัดข้อมือ, Myo ที่สั่งงานด้วยการเคลื่อนไหว (Gesture control) หรือแม้แต่LookSee ที่เป็นกำไลข้อมือออกแบบมาอย่างสวยงาม จากทั้งหมดของบริษัท Startup ทางด้าน IoT สำหรับ Wearable แล้ว จนถึงตอนนี้ดูเหมือน Jawbone จะเป็นบริษัทที่ทุ่มเงินลงทุนไปมากที่สุด น่าจะมากกว่า 500 ล้านเหรียญไปแล้ว
3. Smart City
Smart city สามารถเป็นสิ่งที่อธิบายได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมไปถึงตั้งแต่ระบบจัดการการจราจรไปจนถึงระบบจัดการน้ำ จัดการขยะ ระบบตรวจจับและเฝ้าระวังความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสังคมเมือง แต่สิ่งที่ถูดพูดถึงมากที่สุดคือพลังงานที่หลายๆ เมืองได้สัญญาว่าจะมาช่วยบรรเทาในการใช้ชีวิตในเมืองของทุกวันนี้
4. Smart grids
Smart grid ไปเรื่องค่อนข้างเฉพาะเจาะจงอีกเรื่องหนึ่ง ในอนาคตนั้น smart grid จะเข้ามาใช้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน ในรูปแบบที่จะเป็นอัตโนมัติมากขึ้นในการเพิ่มประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือและเศรษฐศาสตร์ของพลังงานไฟฟ้าเอง ในเดือนที่สำรวจนั้นพบว่ามีมากกว่า 41,000 คนที่ค้นหาด้วยคำที่เกี่ยวข้องกับ Smart grid นี้ อย่างไรก็ตามสำหรับใน Twitter ยังไม่ค่อยจะมีพูดคนพูดถึงเรื่องนี้กันเท่าไหร่นัก (มีเพียง 100 คนต่อเดือนที่พูดถึงเรื่องนี้)
5. Industrial internet
Industrial internet ซึ่งหมายถึง IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรมและโรงงานการผลิต ขณะที่บริษัททางด้านวิจัยทางการตลาดเช่น Gartner หรือบริษัททางด้านเครือข่ายเช่น Cisco ได้มองว่า Industrial internet นี้เป็นอะไรที่มีโอกาสและความเป็นไปได้มากที่สุดแล้ว แต่มันก็ไม่ใช่สินค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป (mass) อย่างที่ smart home หรือ wearable เป็น สำหรับใน Twitter แล้ว industrial internet ถูกพูดถึงมากที่สุดถึงประมาณ 1,700 ทวีตต่อเดือน
6. Connected car
Connected car เป็นส่วนที่มีการปรับตัวช้ากว่าในรูปแบบอื่นๆ เนื่องจากวงรอบในการพัฒนาในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ปี เรายังไม่ได้เห็นการพูดถึงในเรื่องนี้มากเท่าไหร่ในช่วงที่ผ่านมา ในส่วนของ BMW และ Ford ก็ยังไม่ได้ประกาศออกมาเป็นรูปร่างมากนัก ถึงแม้ทาง Google, Microsoft และ Apple ได้ประกาศเปิดตัวฟอร์มสำหรับ connected car ไปกันบ้างแล้ว
7. Connected Health (Digital health/Telehealth/Telemedicine)
แนวคิดของระบบ connected health, Digital health หรือ smart medical ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายนักในขณะนี้ แต่ก็มีหลายๆ ค่ายได้ปล่อยตัวระบบและอุปกรณ์มาให้เห็นกันบ้างแล้ว อย่างเช่น CellScope หรือ Swaive
8. Smart retail
สำหรับ Smart retail นั้นจะเข้ามาช่วยห้างร้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดีในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้าในการซื้อสินค้า แต่ในตอนนี้ระบบนี้ยังเริ่มต้นได้ไม่นานนักและสินค้าเฉพาะกลุ่ม เร็วๆ นี้คงได้เห็นกันมากขึ้น
9. Smart supply chain
ระบบนี้จะเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยติดตามสินค้าที่กำลังขนส่งไปตามท้องถนน ซึ่งระบบนี้จริงๆ แล้วได้มีการใช้งานมาบ้างแล้ว แต่เมื่อพูดถึงในมุมมองของ Internet of Things ดูเหมือนว่าจะยังมีการพูดถึงอยู่ในวงจำกัด
10. Smart farming
Smart farming บ่อยครั้งที่ถูกมองข้ามเมื่อพูดถึง Internet of Things เพราะเนื่องจากมันไม่ค่อยเป็นที่รับรู้หรือถูกนึกถึงเมื่อเทียบกับด้านสุขภาพ มือถือ หรืออุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการทำไร่นาสวนต่างๆ เป็นการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ค่อนข้างห่างไกล ฉะนั้นการนำ Internet of Things มาประยุกต์ใช้เพื่อทำการมอนิเตอร์จึงเป็นอะไรที่สามารถปฏิวัติวงการการทำเกษตรได้เลยทีเดียว
และยังมีอีสิ่งหนึ่งที่เราใช้งงานบ่อยๆแต่ไม่รู้ว่ามันคือ1ในรูปแบบต่างๆของ Internet of Thingsคือ Cloud Storage หรือ บริการรับฝากไฟล์ต่างๆ Cloud Storage คือ แหล่งเก็บข้อมูลบนก้อนเมฆ หรือสมัยก่อนที่เรียกกันว่าเว็บฝากไฟล์นั่นเอง สมัยนี้นิยมเก็บข้อมูลไว้ในก้อนเมฆมากขึ้น เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ ไม่ต้องกลัวข้อมูลสูญหายหรือถูกโจรกรรม สามารถกำหนดให้เป็นแบบส่วนตัวหรือสาธารณะก็ได้ เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาทุกอุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีพื้นที่ใช้สอยมาก มีให้เลือกหลากกลาย ประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากเราไม่ต้องเสียเงินซื้ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่นฮาร์ดไดร์ฟ หรือ Flashdriveต่างๆ
ทั้งนี้ทั้งนั้นใช่ว่าทั้งหมดจะไม่มีข้อเสียเลยทุกๆเทคโนโลยีย่อมมีขีดจำกัดของมันเองนะครับ ดังนั้นเรามาดูข้อเสียของ Internet of Things กันดีกว่า
ปัญหาด้านการส่งข้อมูล : หัวใจหลักของแนวคิด Internet of Thing คือระบบเครือข่ายที่เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ และเครือข่ายที่สำคัญที่สุดคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายความว่าแนวคิดนี้จะต้องพึ่งพาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งถ้าหากเครือข่ายดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว หรือเกิดการผิดพลาดทางการส่งข้อมูล ก็จะส่งผลให้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้ปัญหาด้านความปลอดภัย : เมื่อทุกสิ่งถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน การรักษาความปลอดภัยยิ่งสามารถทำได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องจากหากสามารถเจาะเข้าอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครือข่ายนั้นได้ ก็จะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ชิ้นอื่นได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแนวความคิด Internet of Thing นั้นคือการเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าด้วยกัน ดังนั้นอุปกรณ์ทุกชิ้นจึงเปรียบเสมือนอยู่ในเครือข่ายข้อมูลเดียวกัน เท่ากับว่าข้อมูลทุกชนิดที่อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งได้รับ อุปกรณ์ชิ้นอื่นก็จะได้รับด้วย เนื่องจากต้องนำไปประมวลผลเพื่อทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อนที่แนวคิดนี้จะถูกพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์คงต้องมีการพัฒนาด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเสียก่อนปัญหาการประมวลผลผิดพลาด : ถึงแม้แนวคิด Internet of Thing คือต้องการให้อุปกรณ์ต่างๆ ติดต่อสื่อสารกันเอง และกระทำสิ่งต่างๆ อัตโนมัติโดยไม่ต้องรอคำสั่งของผู้ใช้ แต่อย่างไรก็ต้องป้อนข้อมูล และเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อให้อุปกรณ์นั้นๆ สามารถทำงานได้ ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาดจากการเขียนคำสั่งไม่รัดกุม หรือครอบคลุมพอแนวความคิด Internet of Thing นั้นคือการเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าด้วยกัน ดังนั้นหากอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งประมวลผลผิดพลาด ก็มีแนวโน้มว่าอุปกรณ์ชิ้นอื่นจะทำงานผิดพลาดตามไปด้วย และหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ก็จะส่งผลให้หมดความน่าเชื่อถือไปทันที เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ที่ต้องทำเป็นประจำทุกวันปัญหาเกี่ยวกับผู้ใช้งาน : การที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากไปจะส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ติดความสบาย จนไม่สามารถทำเรื่องพื้นฐานได้ด้วยตนเอง รวมถึงการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นเรื่องสำคัญที่การรับรู้ของแต่ละบุคคลไม่เท่าเทียมกัน และเรายังมีคลิปการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Internet of Things มาให้ดูกันอีกด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้นใช่ว่าทั้งหมดจะไม่มีข้อเสียเลยทุกๆเทคโนโลยีย่อมมีขีดจำกัดของมันเองนะครับ ดังนั้นเรามาดูข้อเสียของ Internet of Things กันดีกว่า
ปัญหาด้านการส่งข้อมูล : หัวใจหลักของแนวคิด Internet of Thing คือระบบเครือข่ายที่เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ และเครือข่ายที่สำคัญที่สุดคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายความว่าแนวคิดนี้จะต้องพึ่งพาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งถ้าหากเครือข่ายดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว หรือเกิดการผิดพลาดทางการส่งข้อมูล ก็จะส่งผลให้อุปกรณ์ต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้ปัญหาด้านความปลอดภัย : เมื่อทุกสิ่งถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน การรักษาความปลอดภัยยิ่งสามารถทำได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องจากหากสามารถเจาะเข้าอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครือข่ายนั้นได้ ก็จะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ชิ้นอื่นได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแนวความคิด Internet of Thing นั้นคือการเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าด้วยกัน ดังนั้นอุปกรณ์ทุกชิ้นจึงเปรียบเสมือนอยู่ในเครือข่ายข้อมูลเดียวกัน เท่ากับว่าข้อมูลทุกชนิดที่อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งได้รับ อุปกรณ์ชิ้นอื่นก็จะได้รับด้วย เนื่องจากต้องนำไปประมวลผลเพื่อทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อนที่แนวคิดนี้จะถูกพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์คงต้องมีการพัฒนาด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเสียก่อนปัญหาการประมวลผลผิดพลาด : ถึงแม้แนวคิด Internet of Thing คือต้องการให้อุปกรณ์ต่างๆ ติดต่อสื่อสารกันเอง และกระทำสิ่งต่างๆ อัตโนมัติโดยไม่ต้องรอคำสั่งของผู้ใช้ แต่อย่างไรก็ต้องป้อนข้อมูล และเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อให้อุปกรณ์นั้นๆ สามารถทำงานได้ ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาดจากการเขียนคำสั่งไม่รัดกุม หรือครอบคลุมพอแนวความคิด Internet of Thing นั้นคือการเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าด้วยกัน ดังนั้นหากอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งประมวลผลผิดพลาด ก็มีแนวโน้มว่าอุปกรณ์ชิ้นอื่นจะทำงานผิดพลาดตามไปด้วย และหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ก็จะส่งผลให้หมดความน่าเชื่อถือไปทันที เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ที่ต้องทำเป็นประจำทุกวันปัญหาเกี่ยวกับผู้ใช้งาน : การที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากไปจะส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ติดความสบาย จนไม่สามารถทำเรื่องพื้นฐานได้ด้วยตนเอง รวมถึงการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นเรื่องสำคัญที่การรับรู้ของแต่ละบุคคลไม่เท่าเทียมกัน และเรายังมีคลิปการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Internet of Things มาให้ดูกันอีกด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก
1. http://www.businessinsider.com/internet-of-everything-2015-bi-2014-12?op=1
2. MarketsandMarkets, Internet of Things Market & Machine-To-Machine Communication Market – Advanced Technologies, Future Cities & Adoption Trends, Roadmaps & Worldwide Forecasts (2012 – 2017), September 2012.
3. Dave Evans, The Internet of Things: How the Next Evolution of the Internet Is Changing Everything, Cisco Internet Business Solution Group White Paper, April 2011.
4. John Gantz, The Embedded Internet: Methodology and Findings, IDC, January 2009.
5. Joseph Bradley, Joel Barbier, Doug Handler, Embracing the Internet of Everything to Capture Your Share of $14.4 Trillion, Cisco White Paper, 2013.
6. ericsson.com More than 50 Billions Connected Devices, Ericsson White Paper, February 2011.
Disruptive technologies: Advances that will transform life, business, and the global economy
Understand Internet of Things (IoT), GSMA